• Home
  • About Us
    • About Us
    • Subscribe
    • Privacy Policy
  • Advertise
    • Advertise On IP Watch
    • Editorial Calendar
  • Videos
  • Links
  • Help

Intellectual Property Watch

Original news and analysis on international IP policy

  • Copyright
  • Patents
  • Trademarks
  • Opinions
  • People News
  • Venues
    • Bilateral/Regional Negotiations
    • ITU/ICANN
    • United Nations – other
    • WHO
    • WIPO
    • WTO/TRIPS
    • Africa
    • Asia/Pacific
    • Europe
    • Latin America/Caribbean
    • North America
  • Themes
    • Access to Knowledge/ Open Innovation & Science
    • Food Security/ Agriculture/ Genetic Resources
    • Finance
    • Health & IP
    • Human Rights
    • Internet Governance/ Digital Economy/ Cyberspace
    • Lobbying
    • Technical Cooperation/ Technology Transfer
  • Health Policy Watch

คำขอสิทธิบัตรยาที่ค้างจำนวนมากทำให้มีความพยายามที่จะขยายระยะเวลาการคุ้มครองในไทยและบราซิล นักรณรงค์เอดส์กล่าว

10/08/2018 by Intellectual Property Watch, Intellectual Property Watch Leave a Comment

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

[View the original English version here.]

18 พ.ค. 2561 โดย ดูกี่ สแตนด์ฟอร์ด สำหรับ INTELLECTUAL PROPERTY WATCH

ด้วยเหตุผลต่างๆหลากหลายทำให้ประเทศไทยกับบราซิลมีคำขอสิทธิบัตรยาค้างอยู่จำนวนมาก ซึ่งความล่าช้าในการพิจารณานี้ได้สร้างแรงกดดันกับทั้งสองประเทศในการขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตร ซึ่งอาจเป็นผลร้ายต่อการเข้าถึงยาราคาไม่แพง ทั้งนี้ตามคำกล่าวขององค์กรที่รณรงค์เรื่องเอดส์

Rio de Janeiro lança Frente Parlamentar de Combate ao HIV/AIDS

กระบวนการตรวจสอบในไทยทำให้มีคำขอค้างจำนวนมาก

ในประเทศไทย ต้องใช้เวลาห้าถึงแปดปีในการพิจารณาคำขอสิทธิบัตร เนื่องจากกรมทรัพย์สินทางปัญญามีขั้นตอนของ “การตรวจสอบการเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น”  ทั้งนี้ตามคำกล่าวของเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูลเจ้าหน้าที่ประสานงานรณรงค์การเข้าถึงยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์  และเสริมว่าเมื่อมีการยื่นขอสิทธิบัตรมาที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมก็จะมีประกาศทางการต่อสาธารณะ  การคุ้มครองสิทธิบัตรเริ่มในวันที่มีการยื่นคำขอไปจนอีก 20 ปี  หากไม่มีการคัดค้านคำขอนั้น หรือมีการคัดค้านแต่ก็มีการรับคำขอนั้นในเวลาต่อมา ผู้ขอมีโอกาสเลือกที่จะรอห้าปีก่อนที่จะยื่นขอให้เริ่มกระบวนการพิจารณา

รายงานการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาพบว่าคำขอสิทธิบัตรที่ค้างเป็นจำนวนมากมีสาเหตุจากการตรวจสอบการเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และตัวบริษัทยาข้ามชาติเอง ทั้งนี้ตามคำกล่าวของเฉลิมศักดิ์  เนื่องจากการคุ้มครองเริ่มในวันที่มีการยื่นคำขอ บริษัทยาข้ามชาติก็มักจะส่งคำเตือนขู่ไปยังบริษัทยาสามัญที่หมายจะผลิตยาที่คล้ายคลึงกันออกมา ทั้งๆที่ก็ยังไม่แน่ว่าจะมีการอนุมัติคำขอสิทธิบัตรนั้นหรือไม่  บริษัทเหล่านี้ยังใช้ประโยชน์จากช่องว่างในกระบวนการพิจารณาคำขอด้วย  การศึกษาสิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุ (evergreening) โดยกลุ่มนักวิชาการที่ครอบคลุมเรื่องสิทธิบัตรและการยื่นขอสิทธิบัตรระหว่างปี 2000 ถึง 2010 พบว่าคำขอให้ตรวจสอบการเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นสำหรับสิทธิบัตรยาส่วนใหญ่ จะยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาในปีที่สี่หรือที่ห้า

“บริษัทยายักษ์ใหญ่ไม่มีอะไรต้องเสีย ในการใช้ช่องว่างทางกฎหมายและมีจดหมายขู่ไปยังบริษัทยาสามัญ หรือแม้แต่ส่งไปยังโรงพยาบาลที่คิดจะซื้อยาสามัญเหล่านั้น” เฉลิมศักดิ์เขียนตอบมาในอีเมล์  ผู้ผลิตยาในประเทศมักจะ “ยอมถอย” มากกว่าที่จะต้องเสี่ยงจ่ายค่าเสียหายหากคำขอสิทธิบัตรนั้นได้รับการอนุมัติ

มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ได้หยิบยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาเมื่อสองปีก่อน ตอนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาร้องขอให้นายกรัฐมนตรีของไทยจัดการกับคำขอที่ค้างอยู่ ซึ่งมีประมาณ 20,000 คำขอโดยในจำนวนนี้เป็นคำขอสิทธิบัตรยา 3,000 คำขอ ทั้งนี้ตามคำกล่าวของเฉลิมศักดิ์  เมื่อมีการเสนอให้ใช้คำสั่งตามอำนาจพิเศษนี้ มูลนิธิได้คัดค้านด้วยเหตุผลที่ว่าการเร่งออกสิทธิบัตรอาจส่งผลเสียต่อสาธารณะ  ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมทรัพย์สินทางปัญญา หน่วยงานรัฐอื่นๆ บริษัทยาข้ามชาติ องค์กรภาคประชาสังคม และตัวแทนจากที่อื่นๆ  หลังจากนั้นเรื่องดังกล่าวก็ชะลอไปสองปี

กระบวนการที่ล่าช้าในการพิจารณาทำให้ประเทศไทยได้รับแรงกดดันในการเจรจาความตกลงการค้าเสรีให้ขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปนานกว่า 20 ปีตามที่กำหนดไว้ในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) ขององค์การการค้าโลก ทั้งนี้ตามคำกล่าวของเฉลิมศักดิ์

ทั้งกรมทรัพย์สินทางปัญญาและสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์หรือพรีม่าในไทยต่างไม่ขอออกความเห็นในการเขียนบทความนี้

บราซิลท่วมท้นไปด้วยคำขอที่ค้างอยู่

ประเทศบราซิลก็มีคำขอสิทธิบัตรยาที่ค้างอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน ทั้งนี้ตามคำกล่าวของเปโดร วิลลาร์ดี ผู้ประสานงานคณะทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอยู่ในสมาคมเอดส์สหวิชาของบราซิล (Associação Brasileira Interdisciplinar de Aids Observatorio Nacional de Politicas de Aids หรือABIA) โดยมีคำขอประมาณ 216,000 คำขอค้างอยู่ โดยในจำนวนนี้เกือบ 24,000 คำขออยู่ในกลุ่ม A61K (ผลิตภัณฑ์ยา ที่เกี่ยวกับอนามัยและทันตศาสตร์)

วิลลาร์ดีกล่าวว่าที่ต่างไปจากประเทศไทย คือสาเหตุที่มีคำขอค้างอยู่เป็นจำนวนมากมาจากการมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอไม่เพียงพอ โดยมีเจ้าหน้าที่วิชาการทั้งหมดเพียง 326 คน  ผู้ตรวจสอบแต่ละคนต้องตรวจสอบ 114 คำขอ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งต่างอย่างมากจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกาที่รับผิดชอบเฉลี่ย 64 คำขอต่อคน  นอกจากคำขอที่ค้างอยู่อย่างท่วมท้นแล้ว รัฐบาลก็มิได้ลงทุนในการสร้างระบบการตรวจสอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  สิ่งที่รัฐบาลได้พยายามทำล่าสุดคือให้มีกระบวนการ “อนุมัติโดยอัตโนมัติ” สำหรับคำขอสิทธิบัตรที่ค้างอยู่ทั้งหมด ซึ่งก็ได้ถูกขัดขวางเนื่องจากเป็นมาตรการที่สร้างข้อโต้แย้งได้อย่างมาก และได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักและก็จะมิได้ขจัดคำขอที่ค้างอยู่ในระยะยาว ทั้งนี้ตามคำกล่าวของวิลลาร์ดี

ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการลงนามตกลงยุติการฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิบัตรหลายกรณี ซึ่งเป็นความพยายามที่จะลดจำนวนคำขอที่ค้างอยู่ แต่เป็นการบั่นทอนอำนาจของบราซิลในการใช้กฎหมายของตนเองในการพิจารณาคำขอสิทธิบัตร ทั้งนี้ตามคำกล่าวของวิลลาร์ดี

มาตรา 40 ก่อให้เกิด “ระยะเวลาผูกขาดนานขึ้น”

นอกไปจากนี้ บราซิลมีกฎหมายที่จะขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตร หากกระบวนการพิจารณาคำขอใช้เวลาเกิน 10 ปี วิลลาร์ดีกล่าว  ภายใต้มาตรา 40 ของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของบราซิล “เวลาใดๆที่เกินไปจาก 10 ปีหมายถึงระยะเวลาการผูกขาดที่นานขึ้น”  ยกตัวอย่างเช่น หากมีการยื่นคำขอสิทธิบัตรในปี 2000 และได้รับอนุมัติ ก็จะได้รับการคุ้มครองไปจนถึงปี 2020  อย่างไรก็ตาม หากกระบวนการพิจารณาใช้เวลา 12 ปี สิทธิบัตรนั้นก็จะมีผลบังคับไปถึงปี 2022

“นี่ถือเป็นข้อกำหนด TRIPS-plus และเป็นบทบัญญัติในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของบราซิลที่ใช้มากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการตรวจสอบคำขอสิทธิบัตรยาในบราซิลคือ 12 ปี” วิลลาร์ดีกล่าว  คำขอสิทธิบัตรยาจำนวนมากเข้าเกณฑ์ตามบทบัญญัตินี้ ซึ่งให้ประโยชน์แก่บริษัทยาข้ามชาติเป็นส่วนใหญ่

มาตรา 40 นี้ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาเนื่องจากขยายระยะเวลาการผูกขาดของยาจำเป็น ทั้งนี้ตามคำกล่าวของวิลลาร์ดี  การชดเชยดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุผล เนื่องจากความล่าช้าในการพิจารณาคำขอมิได้ส่งผลเสียต่อผู้ขอ  ในทางตรงข้าม ในระหว่าง “การรออันยาวนาน” ยาเหล่านั้นก็ได้เข้าสู่ตลาดแล้ว และไม่มีคู่แข่งเนื่องจากคู่แข่งใดๆที่ยอมเสี่ยงเข้ามาแข่งขัน ก็อาจต้องจ่ายค่าเสียหายย้อนหลังหากก็มีออกสิทธิบัตรให้กับยานั้น

ผู้ขอสิทธิบัตรได้ประโยชน์สองต่อจากคำขอที่ค้างการพิจารณา หนึ่งได้รับสิทธิผูกขาดโดยปริยาย และสองหากได้รับอนุมัติสิทธิบัตร ก็จะได้รับระยะเวลาผูกขาดเพิ่มอีก ทั้งนี้ตามคำกล่าวของวิลลาร์ดี  นอกจากนี้ ยาตัวหนึ่งๆที่ได้รับสิทธิบัตรแล้ว โดยเฉลี่ยจะมีการยื่นคำขออีกแปดคำขอสำหรับยาตัวเดียวกันนั้น ดังนั้นคำขอที่ค้างเป็นจำนวนมากจึงเป็นผลจากการยื่นคำขอที่มากเกินความจำเป็นของบริษัทยาข้ามชาติเหล่านี้ด้วย

ทั้งสถาบันทรัพย์สินอุตสาหกรรม และ InterFarma ซึ่งเป็นตัวแทนของห้องปฏิบัติการวิจัยยาทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างไม่ตอบรับการขอความเห็นเพื่อบทความชิ้นนี้

เครดิตรูปภาพ  ABIA

 

Image Credits: ABIA

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

Related

Intellectual Property Watch may be reached at info@ip-watch.org.

Creative Commons License"คำขอสิทธิบัตรยาที่ค้างจำนวนมากทำให้มีความพยายามที่จะขยายระยะเวลาการคุ้มครองในไทยและบราซิล นักรณรงค์เอดส์กล่าว" by Intellectual Property Watch is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

Filed Under: Language, Other Tagged With: #nofeat, #nofeed

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  • Email
  • Facebook
  • LinkedIn
  • RSS
  • Twitter
  • Vimeo
My Tweets

IPW News Briefs

Saudis Seek Alternative Energy Partners Through WIPO Green Program

Chinese IP Officials Complete Study Of UK, European IP Law

Perspectives on the US

In US, No Remedies For Growing IP Infringements

US IP Law – Big Developments On The Horizon In 2019

More perspectives on the US...

Supported Series: Civil Society And TRIPS Flexibilities

Civil Society And TRIPS Flexibilities Series – Translations Now Available

The Myth Of IP Incentives For All Nations – Q&A With Carlos Correa

Read the TRIPS flexibilities series...

Paid Content

Interview With Peter Vanderheyden, CEO Of Article One Partners

More paid content...

IP Delegates in Geneva

  • IP Delegates in Geneva
  • Guide to Geneva-based Public Health and IP Organisations

All Story Categories

Other Languages

  • Français
  • Español
  • 中文
  • اللغة العربية

Archives

  • Archives
  • Monthly Reporter

Staff Access

  • Writers

Sign up for free news alerts

This site uses cookies to help give you the best experience on our website. Cookies enable us to collect information that helps us personalise your experience and improve the functionality and performance of our site. By continuing to read our website, we assume you agree to this, otherwise you can adjust your browser settings. Please read our cookie and Privacy Policy. Our Cookies and Privacy Policy

Copyright © 2021 · Global Policy Reporting

loading Cancel
Post was not sent - check your email addresses!
Email check failed, please try again
Sorry, your blog cannot share posts by email.