• Home
  • About Us
    • About Us
    • Subscribe
    • Privacy Policy
  • Advertise
    • Advertise On IP Watch
    • Editorial Calendar
  • Videos
  • Links
  • Help

Intellectual Property Watch

Original news and analysis on international IP policy

  • Copyright
  • Patents
  • Trademarks
  • Opinions
  • People News
  • Venues
    • Bilateral/Regional Negotiations
    • ITU/ICANN
    • United Nations – other
    • WHO
    • WIPO
    • WTO/TRIPS
    • Africa
    • Asia/Pacific
    • Europe
    • Latin America/Caribbean
    • North America
  • Themes
    • Access to Knowledge/ Open Innovation & Science
    • Food Security/ Agriculture/ Genetic Resources
    • Finance
    • Health & IP
    • Human Rights
    • Internet Governance/ Digital Economy/ Cyberspace
    • Lobbying
    • Technical Cooperation/ Technology Transfer
  • Health Policy Watch

เรื่องแต่งเกี่ยวกับแรงจูงใจในการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับทุกประเทศ ถามตอบกับคาร์ลอส คอร์เรีย

09/08/2018 by Intellectual Property Watch, Intellectual Property Watch Leave a Comment

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

[View the original English version here.]

ดร.คาร์ลอส มาเรีย คอร์เรีย นักเศรษฐศาสตร์และนักกฎหมายชาวอาร์เจนตินาผู้มีชื่อเสียงทั่วโลกในความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ ทรัพย์สินทางปัญญา สาธารณสุข การถ่ายทอดเทคโนโลยี นโยบายการลงทุนและโดยเฉพาะผลกระทบของปัจจัยเหล่านี้ต่อประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสหวิชาด้านกฎหมายทรัพย์สินทางอตุสาหกรรมและเศรษฐศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส และได้เป็นผู้อำนวยการบริหารของสำนักเลขาธิการของ South Centre ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเจนีวาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2018  เมื่อไม่นานมานี้ เขาได้ให้สัมภาษณ์แก่พาทราเล็กคา แชทเทอร์จี เพื่อตีพิมพ์ใน Intellectual Property Watch [การสัมภาษณ์นี้เป็นหนึ่งในสองของรายงานการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์อีกครั้งคือกับดร.ออทโธมัน เมลลุค] 

Intellectual Property Watch (IPW) :  เป็นที่เชื่อกันทั่วไปว่าการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มงวดจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆเพราะจะมีการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม  แต่การคุ้มครองดังกล่าวจะให้ผลเหมือนๆกันในแต่ละประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันเช่นนั้นหรือ

คาร์ลอส คอร์เรีย

คาร์ลอส คอร์เรีย :  ผลของการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นอยู่กับบริบทแต่ละที่เหมือนเช่นนโยบายอื่นๆ  การที่จะกล่าวว่าการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจะมีผลเหมือนกันแม้ประเทศนั้นๆจะมีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุผล และพูดง่ายเกินไปจนไม่อาจรับฟังได้ทั้งในแง่ทฤษฎีและปฏิบัติ  ยกตัวอย่างเช่น มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าแรงจูงใจของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีต่อการสร้างนวัตกรรมจะมีผลไม่เหมือนกันในประเทศที่มีโครงสร้างอุตสาหกรรมที่หลากหลายและทันสมัย เทียบกับประเทศที่ยังต้องพึ่งการผลิตและค้าขายสินค้าอุปโภคและบริโภค

IPW :  จะมีสักกี่เรื่องที่โยงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญากับการค้าและนวัตกรรมที่เป็นเรื่องจริง และสักเท่าไหร่ที่เป็นเรื่องแต่ง

คอร์เรีย :  การเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้แบบง่ายๆล้วนเป็น ‘เรื่องแต่ง’  การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามิจำต้องทำให้เกิดนวัตกรรมหรือการค้ามากขึ้น  แต่อาจส่งผลในทางตรงข้าม ยกตัวอย่างเช่นบริษัทของประเทศหนึ่งที่ยังเพิ่งเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีแต่ไม่สามารถเข้าถึงตลาดในบางประเทศ บริษัทเหล่านี้ก็เท่ากับถูกกันไม่ให้เรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีของตนให้สูงขึ้น  การศึกษาทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วในปัจจุบันได้ประสบความก้าวหน้าทางอตุสาหกรรมก็ด้วยเคยไม่มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาหรือคุ้มครองแบบยืดหยุ่นมาก่อน  สหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้

IPW :  เราจะโต้แย้งเรื่้องแต่งเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญากับการค้าและการสร้างนวัตกรรมได้อย่างไร ด็อกเตอร์เห็นว่าองค์กรภาคประชาสังคมทั้งในระดับประเทศและสากลจะมีบทบาทได้อย่างไรในปัญหาเหล่านี้และในการคุ้มครองประโยชน์ด้านสาธารณสุขและสาธารณประโยชน์

คอร์เรีย :  เราสามารถโต้แย้งเรื่องแต่งเหล่านี้อย่างมีหลักการด้วยรายงานการศึกษามากมายในประเด็นเหล่านี้ ซึ่งมีทั้งรายงานการศึกษาประเด็นทั่วไป ที่ศึกษาในแต่ละอุตสาหกรรมหรือในแต่ละประเทศ  การศึกษาที่ผ่านมาเน้นถึงสิทธิบัตรเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีการศึกษาทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่นด้วย  เราสามารถคุ้มครองสาธารณประโยชน์หากประเทศนั้นๆได้ประเมินความต้องการและนโยบายของตนอย่างเหมาะสม และสามารถทัดทานการเรียกร้อง (หรือแรงกดดัน) ให้คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น  นโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ประเทศอัฟริกาใต้ประกาศใช้เมื่อไม่นานมานี้เป็นตัวอยางที่ดีของการออกนโยบายโดยคำนึงถึงสาธารณประโยชน์แทนที่จะยึดหลักการอย่างเข้มงวดเพียงอย่างเดียว

IPW :  ประเทศที่เริ่มมีบทบาททางเศรษฐกิจหลายประเทศอย่างเช่นอินเดีย ซึ่งพยายามที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศกำลังได้รับแรงกดดันอย่างมหาศาลให้ยอมรับข้ออ้างที่ว่าหากไม่มีระบบการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวด หรือ TRIPS plus แล้วละก็ ก็จะไม่มีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ  มันมีหลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดนี้หรือไม่

คอร์เรีย :  ไม่มีหลักฐานใดๆที่สนับสนุนแนวคิดนี้  แรงดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมาจากปัจจัยอื่นๆเป็นหลัก เช่น ขนาดของตลาดและการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางการเมือง ระบบตุลาการที่น่าเชื่อถือ  อินเดียได้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก  และได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นที่ยอมรับในทางสากลตามที่กำหนดไว้ในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS)  มันไม่มีความจำเป็นใดๆที่ต้องเพิ่มหรือขยายการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ  

IPW :  ประเทศที่เริ่มมีบทบาททางเศรษฐกิจอย่างเช่นอินเดียยังต้องการที่จะเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรม  ในขณะเดียวกัน ก็มีประเด็นสาธารณประโยชน์อย่างเช่นความจำเป็นที่จะทำให้ยาไม่แพงเกินไปเพื่อให้ประชาชนยากจนจำนวนมากเข้าถึงยาได้  ภายใต้ความท้าทายเหล่านี้ เราจะสร้างสมดุลระหว่างการสร้างนวัตกรรมด้วยการให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญากับสาธารณประโยชน์ได้อย่างไร  ด็อกเตอร์จะมีคำแนะนำอย่างไรสำหรับประเทศเหล่านี้

คอร์เรีย :  ประเทศเหล่านี้ต้องคิดว่านโยบายของตนจะคำนึงถึงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไร  คำแนะนำของผมคือให้ศึกษาอย่างตรงไปตรงมาถึงสถานการณ์และโอกาสของแต่ละภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจ และผลกระทบทางสังคมของทรัพย์สินทางปัญญา แล้วจึงนำผลการศึกษานั้นมากำหนดนโยบาย  แน่นอนว่าความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS) กำหนดข้อจำกัดบางประการ แต่ก็อาจลดผลกระทบได้ด้วยการใช้ความยืดหยุ่นใน TRIPS (TRIPS flexibilities) ซึ่งมีความสำคัญโดยเฉพาะในด้านสาธารณสุข  ที่สำคัญเหมือนกันคือการยอมรับว่านโยบายที่ดีควรมีเป้าหมายส่งเสริมทั้งการสร้างนวัตกรรมและการที่ประชาชนจะได้ประโยชน์จากนวัตกรรมนั้น และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้ทำให้เกิดนวัตกรรมมากขึ้นหรือดีขึ้นโดยปริยาย  การเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีนั้นจำเป็นต่อความก้าวหน้าของสังคม

 

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

Related

Intellectual Property Watch may be reached at info@ip-watch.org.

Creative Commons License"เรื่องแต่งเกี่ยวกับแรงจูงใจในการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับทุกประเทศ ถามตอบกับคาร์ลอส คอร์เรีย" by Intellectual Property Watch is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

Filed Under: Language, Other Tagged With: #nofeat, #nofeed

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  • Email
  • Facebook
  • LinkedIn
  • RSS
  • Twitter
  • Vimeo
My Tweets

IPW News Briefs

Saudis Seek Alternative Energy Partners Through WIPO Green Program

Chinese IP Officials Complete Study Of UK, European IP Law

Perspectives on the US

In US, No Remedies For Growing IP Infringements

US IP Law – Big Developments On The Horizon In 2019

More perspectives on the US...

Supported Series: Civil Society And TRIPS Flexibilities

Civil Society And TRIPS Flexibilities Series – Translations Now Available

The Myth Of IP Incentives For All Nations – Q&A With Carlos Correa

Read the TRIPS flexibilities series...

Paid Content

Interview With Peter Vanderheyden, CEO Of Article One Partners

More paid content...

IP Delegates in Geneva

  • IP Delegates in Geneva
  • Guide to Geneva-based Public Health and IP Organisations

All Story Categories

Other Languages

  • Français
  • Español
  • 中文
  • اللغة العربية

Archives

  • Archives
  • Monthly Reporter

Staff Access

  • Writers

Sign up for free news alerts

This site uses cookies to help give you the best experience on our website. Cookies enable us to collect information that helps us personalise your experience and improve the functionality and performance of our site. By continuing to read our website, we assume you agree to this, otherwise you can adjust your browser settings. Please read our cookie and Privacy Policy. Our Cookies and Privacy Policy

Copyright © 2022 · Global Policy Reporting

loading Cancel
Post was not sent - check your email addresses!
Email check failed, please try again
Sorry, your blog cannot share posts by email.