• Home
  • About Us
    • About Us
    • Subscribe
    • Privacy Policy
  • Advertise
    • Advertise On IP Watch
    • Editorial Calendar
  • Videos
  • Links
  • Help

Intellectual Property Watch

Original news and analysis on international IP policy

  • Copyright
  • Patents
  • Trademarks
  • Opinions
  • People News
  • Venues
    • Bilateral/Regional Negotiations
    • ITU/ICANN
    • United Nations – other
    • WHO
    • WIPO
    • WTO/TRIPS
    • Africa
    • Asia/Pacific
    • Europe
    • Latin America/Caribbean
    • North America
  • Themes
    • Access to Knowledge/ Open Innovation & Science
    • Food Security/ Agriculture/ Genetic Resources
    • Finance
    • Health & IP
    • Human Rights
    • Internet Governance/ Digital Economy/ Cyberspace
    • Lobbying
    • Technical Cooperation/ Technology Transfer
  • Health Policy Watch

เรื่องแต่งของความตกลงการค้ากับสาธารณสุข ถามตอบกับออทโธมัน เมลลุค

09/08/2018 by Intellectual Property Watch, Intellectual Property Watch Leave a Comment

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

[View the original English version here.]

ดร.ออทโธมัน เมลลุค เป็นนักรณรงค์ให้มีการเข้าถึงการรักษาชาวโมร็อกโคซึ่งทำงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าถึงยามากว่าหนึ่งทศวรรษ  เขาเป็นแกนนำด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าถึงยาขององค์กรร่วมการเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงการรักษาระหว่างประเทศ (International Treatment Preparedness Coalition หรือ ITPC) อันเป็นเครือข่ายทั่วโลกของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและนักรณรงค์ที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้มีการเข้าถึงยาเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบ และเป็นกรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษายุทธศาสตร์และทางวิชาการขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบ  เมื่อไม่นานมานี้ เขาได้ให้สัมภาษณ์แก่พาทราเล็กคา แชทเทอร์จี เพื่อตีพิมพ์ใน Intellectual Property Watch อันเป็นส่วนหนึ่งของบทความหลายตอนที่ได้รับการสนับสนุนจาก Make Medicines Affordable [การสัมภาษณ์นี้เป็นหนึ่งในสองของรายงานการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์อีกครั้งคือกับดร.คาร์ลอส คอร์เรีย]  

Intellectual Property Watch (IPW) :  เป็นที่เชื่อกันทั่วไปว่าการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มงวดจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆเพราะจะมีการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม  แต่การคุ้มครองดังกล่าวจะให้ผลเหมือนๆกันในแต่ละประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันเช่นนั้นหรือ

ออทโธมัน เมลลุค

ออทโธมัน เมลลุค :  ผู้ส่งออกทรัพย์สินทางปัญญากับผู้นำเข้าทรัพย์สินทางปัญญาเห็นประโยชน์ไม่เหมือนกัน  ประเทศที่ส่งออกทรัพย์สินทางปัญญาไม่ว่าจะเป็นเวชภัณฑ์หรือซอฟแวร์ก็จะสนใจการคุ้มครองสิ่งที่ตนผลิตทั้่งในประเทศและทั่วโลก  ส่วนประเทศที่นำเข้าก็จะมองต่างและก็จะมีนโยบายที่รองรับประโยชน์ของตน  ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งต้องพึ่งทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศอื่นก็ต้องการให้มีการคุ้มครองน้อยที่สุดซึ่งก็มีกำหนดไว้ในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) ณ ปัจจุบัน TRIPS มีข้อบกพร่อง แต่อย่างน้อยที่สุดก็ให้ความคุ้มครองขั้นต่ำแก่ผู้ทรงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และเปิดช่องทางให้ประเทศต่างๆได้สามารถปรับกฎหมายของตนให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนา  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปต้องการผลักดันให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดแบบ ‘TRIPS plus’ เพราะต้องการคุ้มครองอุตสาหกรรมต่างๆของตน  เกิดความผิดพลาดใหญ่ขึ้นเมื่อประเทศที่ต้องพึ่งทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศอื่นหันไปปฏิบัติตาม TRIPS plus เพราะนั่นไม่ได้เป็นประโยชน์แก่ประเทศเหล่านั้น  แต่ก็เกิดขึ้นเพราะการโฆษณาชวนเชื่อและเรื่องที่แต่งอย่างมากว่าการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาช่วยส่งเสริมนวัตกรรม

IPW :  เหตุใดจึงเป็นเรื่องแต่งอย่างมาก  ข้อกำหนดการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มงวดในความตกลงการค้าเสรีมิได้ช่วยส่งเสริมการลงทุนในความคิดของคุณเช่นนั้นหรือ

เมลลุค :  เป็นความผิดพลาดอย่างมากที่คิดว่าการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดขึ้นจะส่งเสริมนวัตกรรม  มันมิได้เป็นเช่นนั้น  มันทำให้ประเทศต่างๆต้องพึ่งนวัตกรรมของประเทศอื่น  นวัตกรรมขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆหลายอย่าง เช่น ระดับการศึกษา การลงทุนในการวิจัย การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของความรู้  มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเพียงอย่างเดียว  ข้ออ้างอีกประการคือการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจะส่งเสริมให้มีการลงทุน และจะช่วยสร้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ  อีกนั่นแหละนี่ก็ไม่จริง แต่เป็นข้ออ้างที่เอาออกมาใช้ในระหว่างเจรจาความตกลงการค้าเสรีซึ่งก็ไม่จริง  ดูอย่างความตกลงการค้าเสรีระหว่างโมร็อกโคกับสหรัฐอเมริกาซึ่งมีข้อกำหนดให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวด และบังคับใช้มา 13 ปีแล้ว  แต่แล้วผลเป็นอย่างไร  มันทำให้สหรัฐอเมริกาส่งออกมายังโมร็อกโคมากขึ้น แต่สหรัฐอเมริกาก็มิได้ลงทุนมากมายอะไรใน 13 ปีนี้และก็มิได้สร้างงานในโมร็อกโค  รายงานการศึกษาอย่างเป็นทางการของโมร็อกโคสองฉบับระบุว่ามาจากสาเหตุที่ความตกลงการค้าเสรีนี้ไม่มีความสมดุลและมิได้ทำให้โมร็อกโคได้ประโยชน์  แต่เรื่องแต่งที่โยงการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญากับการลงทุนก็ยังคงดำเนินต่อไป  นี่ก็เพื่อหนุนให้มีการเปลี่ยนนโยบายในประเทศต่างๆ  ผมคิดว่าการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาต้องมองเป็นประเทศๆไป และแต่ละประเทศควรมีนโยบายคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ปรับให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนาและความจำเป็นของตน

IPW :  โมร็อกโคได้ยอมรับข้อกำหนด TRIPS plus ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา แล้วมันเป็นอย่างไรบ้าง

เมลลุค :  ใช่ โมร็อกโคยอมรับทุกอย่าง  เรายอมรับการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรไปนานกว่า 20 ปี เรา

ยอมรับการคุ้มครองข้อมูลทดสอบทางยา (data exclusivity) เรายอมรับการให้สิทธิบัตรแก่การใช้ยาเก่าด้วยวิธีการใหม่ เรายอมรับการกำหนดข้อจำกัดในการประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory licenses) และเราก็ยอมรับการโยงการอนุมัติการทำการตลาดกับสถานะของสิทธิบัตร เหล่านี้เป็นมาตรการ TRIPS plus ที่สำคัญอย่างน้อยห้าประการ  ความตกลงการค้าเสรีนี้ถือเป็นความตกลงที่แย่ที่สุดอันหนึ่ง

IPW :  แล้วราคายาเพิ่มสูงขึ้นไหม

เมลลุค :  นี่เป็นประเด็นใหญ่  เรายังไม่ได้ทำการศึกษาผลกระทบ  ยาของที่นี่มีราคาสูงมากและยาบางตัวในโมร็อกโคมีราคาสูงกว่าในยุโรป  รายงานการศึกษาของรัฐสภาโมร็อกโคระบุเรื่องนี้ และใช่ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา  แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบอย่างแท้จริงของความตกลงการค้าเสรีระหว่างโมร็อกโคกับสหรัฐอเมริกา  นี่คือปัญหา  หลายประเทศเจรจาตกลงโดยไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบในเรื่องต่างๆอย่างเช่นเรื่องยา  แต่บราซิลและอาร์เจนตินาได้ทำโดยคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

ตอนนี้โมร็อกโคกำลังเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป  แต่คราวนี้ การเจรจาได้รับการขัดขวางด้วยเหตุผลหลายประการเพราะคนจำนวนมากไม่เห็นด้วยในเรื่องต่างๆ รวมถึงประเด็นการเข้าถึงยาที่ไม่แพง  รัฐบาลจึงยอมที่จะทำการศึกษาผลกระทบ  ก็ได้มีการเรียนรู้บทเรียนแต่ก็ต้องใช้เวลาถึง 13 ปี

IPW :  เราจะโต้แย้งเรื่องแต่งเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญากับการค้าและนวัตกรรมได้อย่างไร

เมลลุค :  ประเด็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องซับซ้อน  เป็นการง่ายที่จะระดมสื่อและปลุกกระแสเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับยา เพราะอาจมีคนต้องตายหากไม่ได้รับยาตัวนั้นๆ  ราคายาเป็นประเด็นใหญ่ในโมร็อกโค  ประมาณร้อยละ 65 ของประชากรมีประกันสุขภาพ แต่แม้จะมีประกัน มันก็ไม่ได้ครอบคลุมทุกโรค  การรักษาเอชไอวีทำได้ฟรีแต่นี่เป็นข้อยกเว้น  เรามีกองทุนโลก [สำหรับเอดส์ วัณโรคและมาลาเรีย] ที่สนับสนุนค่าใช้จ่าย  แต่ไม่มีกองทุนโลกสำหรับไวรัสตับอักเสบซีหรือมะเร็ง คำถามมีว่า จะเป็นอย่างไรหากไม่มีกองทุนโลกอีกเมื่อโมร็อกโคไม่เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนโลกอีกต่อไป

เครดิตรูปภาพ  อเล็กซ์ เบโก

 

Image Credits: Alex Bego

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

Related

Intellectual Property Watch may be reached at info@ip-watch.org.

Creative Commons License"เรื่องแต่งของความตกลงการค้ากับสาธารณสุข ถามตอบกับออทโธมัน เมลลุค" by Intellectual Property Watch is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

Filed Under: Language, Other Tagged With: #nofeat, #nofeed

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  • Email
  • Facebook
  • LinkedIn
  • RSS
  • Twitter
  • Vimeo
My Tweets

IPW News Briefs

Saudis Seek Alternative Energy Partners Through WIPO Green Program

Chinese IP Officials Complete Study Of UK, European IP Law

Perspectives on the US

In US, No Remedies For Growing IP Infringements

US IP Law – Big Developments On The Horizon In 2019

More perspectives on the US...

Supported Series: Civil Society And TRIPS Flexibilities

Civil Society And TRIPS Flexibilities Series – Translations Now Available

The Myth Of IP Incentives For All Nations – Q&A With Carlos Correa

Read the TRIPS flexibilities series...

Paid Content

Interview With Peter Vanderheyden, CEO Of Article One Partners

More paid content...

IP Delegates in Geneva

  • IP Delegates in Geneva
  • Guide to Geneva-based Public Health and IP Organisations

All Story Categories

Other Languages

  • Français
  • Español
  • 中文
  • اللغة العربية

Archives

  • Archives
  • Monthly Reporter

Staff Access

  • Writers

Sign up for free news alerts

This site uses cookies to help give you the best experience on our website. Cookies enable us to collect information that helps us personalise your experience and improve the functionality and performance of our site. By continuing to read our website, we assume you agree to this, otherwise you can adjust your browser settings. Please read our cookie and Privacy Policy. Our Cookies and Privacy Policy

Copyright © 2022 · Global Policy Reporting

loading Cancel
Post was not sent - check your email addresses!
Email check failed, please try again
Sorry, your blog cannot share posts by email.