• Home
  • About Us
    • About Us
    • Subscribe
    • Privacy Policy
  • Advertise
    • Advertise On IP Watch
    • Editorial Calendar
  • Videos
  • Links
  • Help

Intellectual Property Watch

Original news and analysis on international IP policy

  • Copyright
  • Patents
  • Trademarks
  • Opinions
  • People News
  • Venues
    • Bilateral/Regional Negotiations
    • ITU/ICANN
    • United Nations – other
    • WHO
    • WIPO
    • WTO/TRIPS
    • Africa
    • Asia/Pacific
    • Europe
    • Latin America/Caribbean
    • North America
  • Themes
    • Access to Knowledge/ Open Innovation & Science
    • Food Security/ Agriculture/ Genetic Resources
    • Finance
    • Health & IP
    • Human Rights
    • Internet Governance/ Digital Economy/ Cyberspace
    • Lobbying
    • Technical Cooperation/ Technology Transfer
  • Health Policy Watch

สิทธิบัตรเอเวอร์กรีนทำให้ยามีราคาสูงโดยไม่จำเป็น ถ่วงการเติบโตของผู้ผลิตยาในประเทศ องค์กรเอกชนและผู้ผลิตยาไทยกล่าว

09/08/2018 by Intellectual Property Watch, Intellectual Property Watch Leave a Comment

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

[View the original English version here.]

7 พ.ค. 2561  โดย ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ สำหรับ INTELLECTUAL PROPERTY WATCH

[บทความนี้เป็นหนึ่งในชุดรายงานเรื่องบทบาทของภาคประชาสังคมในการดำเนินการตาม TRIPS Flexibilities Implementation ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กร Make Medicines Affordable แต่ IP Watch มีอิสระในการบรรณาธิการบทความต่างๆในรายงานชุดนี้]

กรุงเทพฯ – กลยุทธ์ของบริษัทยาข้ามชาติในการได้มาซึ่งสิทธิบัตรที่ไม่สมควรได้รับได้ทำให้ค่ารักษาพยาบาลมีราคาสูงโดยไม่จำเป็นและได้ถ่วงการเติบโตของผู้ผลิตยาสามัญในประเทศ ทำให้รัฐบาลไทยต้องสูญเสียเงินหลายร้อยล้านเหรียญ ทั้งนี้ตามคำกล่าวของนักรณรงค์การเข้าถึงยาและผู้ผลิตยาในประเทศ

สมาชิกของมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ยื่นคัดค้านคำขอสิทธิบัตรเอเวอร์กรีนของยา sofosbuvir ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อ 11 เมษายน 2017 คนที่นั่งด้านขวาคือเฉลิมศักดิ์

นักรณรงค์และผู้ผลิตยาไทยยังกังวลที่เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศอยู่ในปัจจุบันคิดที่จะใช้อำนาจพิเศษเพื่อเร่งการอนุมัติคำขอสิทธิบัตรที่ยังค้างอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากดำเนินการไปเช่นนั้นอาจเท่ากับอนุมัติคำขอที่ไม่สมควรให้สิทธิบัตรเหล่านั้น

กลยุทธ์ที่ว่านั้นเรียกกันว่าสิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุ (evergreening) ซึ่งเป็นการใช้ข้ออ้างที่ไม่สมเหตุผลเพื่อคงสภาพบังคับของสิทธิบัตรไว้ ทำให้บริษัทยายังคงสามารถหากำไรจากเวชภัณฑ์ของตนได้อย่างมหาศาลโดยผู้ป่วยต้องเป็นฝ่ายจ่ายเงิน

กลยุทธ์ที่ใช้ในการขอสิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุนี้อาจเป็นการผสมยาเดิมตั้งแต่สองชนิดเข้าด้วยกัน เปลี่ยนส่วนผสมยาจากเดิมไปเพียงเล็กน้อย หรือเป็นวิธีใช้ยาที่แตกต่างไปจากวิธีเดิม ซึ่งผู้ที่คัดค้านเห็นว่ามิได้เป็นการประดิษฐ์ใหม่อันสมควรที่จะได้รับสิทธิบัตรอีก

“สิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุในยาเป็นปัญหาเรื้อรังในไทยมานาน” เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูลเจ้าหน้าที่ประสานงานรณรงค์การเข้าถึงยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์กล่าวต่อ Intellectual Property Watch

“มันทำให้เกิดปัญหาสิทธิบัตรด้อยคุณภาพและการผูกขาดโดยไม่จำเป็นในยาสำคัญๆหลายชนิด” เฉลิมศักดิ์กล่าว

และ “ทำให้บริษัทยาชื่อสามัญไม่สามารถเข้ามาแข่งขันเพื่อทำให้ราคายาถูกลงได้ รัฐบาลและประชาชนจึงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านยาที่แพงโดยไม่จำเป็น”

รชฎ ถกลศรีเลขาธิการสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบันเห็นด้วยที่ว่าบริษัทยาข้ามชาติได้ใช้กลยุทธ์สิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุนี้ในการสกัดกั้นมิให้บริษัทยาในประเทศผลิตยาสามัญ

รชฎซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ไบโอแลป จำกัดผู้ผลิตยารายหนึ่งของไทยด้วยชี้ว่าปัญหายังอยู่ที่เจ้าหน้าที่สิทธิบัตรยาในกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยด้วย

เขากล่าวว่า “ผมคิดว่าจนทุกวันนี้ กรมฯยังไม่มีเภสัชกรผู้มีความรู้เกี่ยวกับยาจริงๆทำงานในเรื่องนี้”

และยังกล่าวต่อว่าสิ่งที่ตามมาคือสิทธิบัตรบางตัวที่ผู้ผลิตยาต่างชาติได้รับนั้นมีข้อกำหนดที่กว้างและคลุมเครือ ทำให้ยากต่อการที่ผู้ผลิตในประเทศจะผลิตยาสามัญในประเภทเดียวกันออกมา

“มีสิทธิบัตรยาบางตัวที่ได้จดทะเบียนเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น” รชฎกล่าว “ไม่มีประเทศอื่นที่ไหนที่เขารับจด”

รายงานการศึกษาโดยกลุ่มนักวิชาการด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าถึงยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยอ้างว่าในช่วง 11 ปีตั้งแต่ค.ศ. 1999 ถึง 2010 มีคำขอสิทธิบัตรในประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 82 ที่อาจเข้าค่ายเป็นคำขอสิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุ และสิทธิบัตรที่ได้อนุมัติไปในช่วงเวลาเดียวกันนั้นอาจเป็นสิทธิบัตรประเภทนี้ถึงร้อยละ 72

รายงานการศึกษานี้ชี้ว่าประเทศไทยอาจสามารถประหยัดงบประมาณได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท (ประมาณ 258 ล้านเหรียญสหรัฐ) หากไม่ได้ให้สิทธิบัตรเหล่านี้ไป

รายงานการศึกษานี้ยกตัวอย่างผลของสิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุที่ทำให้ยา atazanavir มีราคาสูง ซึ่งยาตัวนี้องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้เป็นหนึ่งในยาต้านไวรัสเอชไอวีสูตรสำรองที่ 2 ในการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี

ยาตัวนี้ได้รับสิทธิบัตรหลายตัว โดยสิทธิบัตรสองตัวจะสิ้นสุดอายุการคุ้มครองในไม่ช้านี้ แต่ยังมีสิทธิบัตรอีกสี่ตัวที่ยังมีผลบังคับโดยตัวสุดท้ายจะคุ้มครองไปถึงปี 2028  เป็นผลให้ผู้ป่วยแต่ละรายที่ต้องใช้ยาตัวนี้ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 240 เหรียญสหรัฐต่อเดือน เทียบกับราคา 33 ถึง 46 เหรียญสหรัฐหากเป็นยาสามัญที่ผลิตในประเทศอินเดีย

ที่ผ่านมามูลนิธิเข้าถึงเอดส์ซึ่งเป็นองค์กรที่รณรงค์ให้ผู้ป่วยเอชไอวีหรือเอดส์ในไทยได้รับยาฟรีหรือได้มียาที่ไม่แพงเกินไปได้ยื่นคัดค้านคำขอสิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุของบริษัทยาข้ามชาติมาหลายครั้ง

โดยนับตั้งแต่ปี 2015 ได้ยื่นคัดค้านดังกล่าวต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาไปแล้วเก้าคำร้อง โดยคำร้องสุดท้ายยื่นเมื่อเมษายน 2018 เป็นการคัดค้านคำขอสิทธิบัตรของยาที่รู้จักกันในชื่อสามัญว่า sofosbuvir + ledipasvir ซึ่งใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี โดยอ้างว่าคำขอดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการรักษาซึ่งไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ และเป็นเพียงการผสมยาสองตัวเข้าด้วยกันโดยไม่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น

ในข่าวแถลงชี้แจงการคัดค้านคำขอสิทธิบัตรยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีดังกล่าวซึ่งปรากฏอยู่บนเว็บไซท์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทางกรมฯมิได้ใช้คำใดๆที่อ้างถึงการขอสิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุ แต่กล่าวว่าจะพิจารณาคำขอสิทธิบัตรดังกล่าวด้วย “ความรอบคอบ รัดกุม และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย”

เฉลิมศักดิ์จากมูลนิธิเข้าถึงเอดส์กล่าวว่าการคัดค้านทั้งเก้าคำคัดค้านยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของกรมทรัพย์สินทางปัญญา

สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์หรือพรีม่าซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทผลิตยาข้ามชาติในกรุงเทพฯกล่าวตอบคำถามของ Intellectual Property Watch ว่าสิทธิบัตรยาใดๆในประเทศไทยต้องผ่าน “การพิจารณาที่เข้มงวด” ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งได้แก่ “การตรวจสอบความใหม่ เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และความมีประโยชน์”

“หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้มาตรฐาน ก็จะไม่ได้รับสิทธิบัตร” พรีม่ากล่าวในคำตอบที่ให้มาโดยไม่ได้พูดถึงสิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุ

คำขอค้างจำนวนมาก

ในอีกด้านหนึ่งเนื่องด้วยมีคำขอสิทธิบัตรที่ยังค้างอยู่เป็นจำนวนมาก รัฐบาลทหารจึงได้มีความคิดที่จะใช้อำนาจพิเศษเพื่อเร่งอนุมัติคำขอที่ค้างอยู่เหล่านี้ แต่ก็ได้รับการคัดค้านอย่างมากจากองค์กรเอกชนทั้งภายในและระหว่างประเทศเพราะอาจมีคำขอสิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุรวมอยู่ในที่ค้างเหล่านี้ด้วย

จากตัวเลขสถิติของกรมทรัพย์สินทางปัญญาถึงปีล่าสุด 2016 พบว่ามีคำขอสิทธิบัตรจำนวน 12,743 ที่ยังรอการพิจารณา โดยในจำนวนนี้ 4,664 คำขอหรือร้อยละ 36.6 เป็นคำขอของคนไทย และอีก 8,079 คำขอหรือร้อยละ 63.4 เป็นของต่างชาติ

คำขอที่ค้างอยู่จำนวนมากนี้ทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยหัวหน้า คสช. ซึ่งคือพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีมีความคิดที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2014 เพื่อเร่งการพิจารณาคำขอสิทธิบัตร

องค์กรภายในและต่างประเทศที่รณรงค์การเข้าถึงยาได้มีจดหมายลงวันที่ 10 มีนาคม 2017 ถึงพลเอกประยุทธ์กล่าวว่าหากทำเช่นนั้นจะ “มีผลร้ายต่อการเข้าถึงยาจำเป็นและสาธารณสุขของประเทศไทยอย่างไม่ต้องสงสัย เนื่องจากจะมีการอนุมัติคำขอสิทธิบัตรที่ไม่ควรได้รับที่เรียกกันว่าสิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุเพิ่มขึ้นอีก”

จดหมายนั้นยังกล่าวว่านั่นจะเป็นผลให้ยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วย “มีราคาสูงลิ่ว ซื้อหากันไม่ได้ และเข้าถึงกันไม่ได้”

และเขียนต่อว่าอัตราการอนุมัติสิทธิบัตรของประเทศไทยก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆที่ดำเนินนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ส่งเสริมด้านสาธารณสุข ดังเช่นในอินเดียและบราซิล

ในจดหมายได้อ้างข้อมูลจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกว่าในปี 2014 มีคำขอสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ในประเทศไทย 7,930 คำขอและได้ให้สิทธิบัตรไป 1,286 คำขอ ซึ่งคิดเป็นอัตราร้อยละ 16 เทียบกับร้อยละ 13 และร้อยละ 11 ในอินเดียและบราซิลตามลำดับในปี 2015

จดหมายนั้นลงนามโดย Make Medicines Affordable ซึ่งเป็นการรวมตัวขององค์กรต่างๆที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้บุคคลที่ต้องการยาจำเป็นสำหรับเอชไอวีสามารถเข้าถึงยาเหล่านั้น และองค์กรสนับสนุนอีก 43 แห่งทั่วโลก มูลนิธิเข้าถึงเอดส์เป็นหนึ่งในองค์กรที่ลงนามเหล่านั้น

เฉลิมศักดิ์กล่าวกับ Intellectual Property Watch ว่านอกจากยื่นจดหมายให้กับนายกรัฐมนตรีแล้ว เขาและคนอื่นๆยังได้เข้าพบผู้นำในรัฐบาลเพื่อโน้มน้าวมิให้ใช้มาตรา 44 จึงทำให้ยังไม่มีการใช้อำนาจพิเศษนี้

ส่วนพรีม่านั้นก็ได้กล่าวถึงคำขอสิทธิบัตรที่ค้างอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน “โดยเฉลี่ยแล้วคำขอสิทธิบัตรเภสัชภัณฑ์ในประเทศไทยใช้เวลาประมาณ 12 ปี”

พรีม่ากล่าวต่อว่า “เมื่้อเร็วๆนี้ได้มีการเพิ่มเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร เราเชื่อว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เดินมาถูกทางแล้วในการแก้ปัญหาคำขอที่ค้างอยู่เพื่อประโยชน์ของประเทศ”

รชฎจากสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบันกล่าวว่าเขาไม่เห็นด้วยหากจะใช้มาตรา 44 เพียงเพื่อเร่งการให้สิทธิบัตร

เขาเสนอว่าหากจะมีการใช้อำนาจพิเศษนี้ ก็ควรใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตรวจคำขอด้วยการปรับปรุงขั้นตอนและแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ในกรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่เพียงพอ

เครคิดรูปภาพ  มูลนิธิเข้าถึงเอดส์

 

Image Credits: AIDS Access Foundation

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

Related

Intellectual Property Watch may be reached at info@ip-watch.org.

Creative Commons License"สิทธิบัตรเอเวอร์กรีนทำให้ยามีราคาสูงโดยไม่จำเป็น ถ่วงการเติบโตของผู้ผลิตยาในประเทศ องค์กรเอกชนและผู้ผลิตยาไทยกล่าว" by Intellectual Property Watch is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

Filed Under: Language, Other Tagged With: #nofeat, #nofeed

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  • Email
  • Facebook
  • LinkedIn
  • RSS
  • Twitter
  • Vimeo
My Tweets

IPW News Briefs

Saudis Seek Alternative Energy Partners Through WIPO Green Program

Chinese IP Officials Complete Study Of UK, European IP Law

Perspectives on the US

In US, No Remedies For Growing IP Infringements

US IP Law – Big Developments On The Horizon In 2019

More perspectives on the US...

Supported Series: Civil Society And TRIPS Flexibilities

Civil Society And TRIPS Flexibilities Series – Translations Now Available

The Myth Of IP Incentives For All Nations – Q&A With Carlos Correa

Read the TRIPS flexibilities series...

Paid Content

Interview With Peter Vanderheyden, CEO Of Article One Partners

More paid content...

IP Delegates in Geneva

  • IP Delegates in Geneva
  • Guide to Geneva-based Public Health and IP Organisations

All Story Categories

Other Languages

  • Français
  • Español
  • 中文
  • اللغة العربية

Archives

  • Archives
  • Monthly Reporter

Staff Access

  • Writers

Sign up for free news alerts

This site uses cookies to help give you the best experience on our website. Cookies enable us to collect information that helps us personalise your experience and improve the functionality and performance of our site. By continuing to read our website, we assume you agree to this, otherwise you can adjust your browser settings. Please read our cookie and Privacy Policy. Our Cookies and Privacy Policy

Copyright © 2022 · Global Policy Reporting

loading Cancel
Post was not sent - check your email addresses!
Email check failed, please try again
Sorry, your blog cannot share posts by email.