• Home
  • About Us
    • About Us
    • Subscribe
    • Privacy Policy
  • Advertise
    • Advertise On IP Watch
    • Editorial Calendar
  • Videos
  • Links
  • Help

Intellectual Property Watch

Original news and analysis on international IP policy

  • Copyright
  • Patents
  • Trademarks
  • Opinions
  • People News
  • Venues
    • Bilateral/Regional Negotiations
    • ITU/ICANN
    • United Nations – other
    • WHO
    • WIPO
    • WTO/TRIPS
    • Africa
    • Asia/Pacific
    • Europe
    • Latin America/Caribbean
    • North America
  • Themes
    • Access to Knowledge/ Open Innovation & Science
    • Food Security/ Agriculture/ Genetic Resources
    • Finance
    • Health & IP
    • Human Rights
    • Internet Governance/ Digital Economy/ Cyberspace
    • Lobbying
    • Technical Cooperation/ Technology Transfer
  • Health Policy Watch

ภาคประชาสังคมสำคัญต่อการดำเนินการตามความยืดหยุ่นใน TRIPS

09/08/2018 by Intellectual Property Watch, Intellectual Property Watch Leave a Comment

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

4 พ.ค. 2561 โดย แคทเธอรีน แซส INTELLECTUAL PROPERTY WATCH

เมื่อครั้นที่องค์การการค้าโลกรับรองความตกลงในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ได้กำหนดให้มีความยืดหยุ่นหลายประการในข้อตกลงด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถกำหนดนโยบายในการดำเนินการตามข้อตกลงโดยคำนึงถึงระดับการพัฒนาของตน  อย่างไรก็ตาม บางประเทศอาจด้วยขาดความตระหนักรู้หรือแรงกดดันทางเศรษฐกิจก็มิได้ใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นนั้นอย่างเต็มที่ และต้องเผชิญกับการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการไม่ได้ใช้ความยืดหยุ่นเหล่านั้น  องค์กรภาคประชาสังคมได้เข้ามามีส่วนช่วยเหลือเพื่อลดแรงกดดันและทำให้ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายตระหนักถึงการที่ประชาชนพึงได้เข้าถึงยารักษาโรคง่ายขึ้น

การประท้วงในระหว่างการประชุมเอดส์นานาชาติที่เมืองเดอร์บันเมื่อปี 2016 เพื่อต่อต้านบริษัทยา Gilead ที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยในประเทศรายได้ปานกลางหลายประเทศเข้าถึงยา sofosbuvir  ถ่ายภาพโดย ITPC Global

ความยืดหยุ่นด้านสาธารณสุขในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) ขององค์การการค้าโลกเมื่อปี 1994 ได้แก่ การประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory licences) การนำเข้าควบคู่กันไป (parallel imports) การยกเว้นเพื่อการวิจัย และการป้องกันมิให้มีการกีดกันการแข่งขัน

ในการประชุมสุดยอดโลกว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าถึงยาที่จัดโดย Make Medicines Affordable เมื่อต้นปีนี้ ได้มีการพูดถึงหลายประเด็นที่กำลังเป็นที่กังวล เช่น กระบวนการพิจารณาคำขอสิทธิบัตรมิได้คำนึงถึงปัจจัยด้านสาธารณสุข และนโยบายหรือกฎหมายปราบปรามของปลอมที่ได้รวมเอายาสามัญว่าเป็นของปลอมด้วย

อีกประเด็นที่เป็นที่กังวลคือความตกลงการค้าเสรีสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายซึ่งมีข้อสัญญาจำกัดการใช้ความยืดหยุ่นในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS) หรือที่เรียกกันว่าข้อสัญญา TRIPS-plus อันเป็นข้อตกลงที่เกินไปกว่าข้อกำหนดใน TRIPS  โดยแม้แต่ความตกลงการค้าเสรีของประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดก็ยังมีข้อสัญญาเช่นนี้ ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้รับการยกเว้นภายใต้ความตกลง TRIPS อยู่แล้วที่จะไม่ต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาว่าด้วยเภสัชภัณฑ์จนกว่าจะถึงปี 2033

ในช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา องค์กรภาคประชาสังคมได้รณรงค์อย่างมากเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยารักษาโรคโดยใช้ความยืนหยุ่นที่กำหนดไว้ใน TRIPS และการล็อบบี้ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย

เปโดร วิลลาร์ดี้แห่งคณะทำงานว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งประสานงานโดยสมาคมเอดส์ของบราซิล (Brazilian Interdisciplinary AIDS Association) กล่าวว่าไม่ควรมองข้อกำหนดความยืดหยุ่นใน TRIPS แบบแยกส่วน แต่ควรมองเป็นความหลากหลายที่ีสามารถนำมาใช้ในเชิงยุทธศาสตร์ด้านนโยบาย

ภาคประชาสังคมทำให้ราคายาถูกลง ประหยัดได้หลายล้านเหรียญ

องค์กร I-MAK ซึ่งเริ่มทำงานเพื่อให้ผู้ป่วยเอชไอวีสามารถเข้าถึงการรักษาได้ในอินเดียตั้งแต่ปี 2006 และมีงานด้านกฎหมายและวิจัยใน 49 ประเทศที่เกี่ยวข้องกับวิธีรักษาโรคต่างๆ 8 โรคด้วย 20 วิธี ได้อ้างว่าการทำงานที่ผ่านมาได้ช่วยให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณด้านสาธารณสุขกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐใน 12 ปีที่ผ่านมา

และกล่าวว่าการที่สามารถคัดค้านคำขอสิทธิบัตรยาเอชไอวีสี่ตัวในอินเดียได้สำเร็จทำให้ราคายาลดลงร้อยละ 51 ถึง 89 เมื่อเทียบกับยาต้นตำรับ

ส่วนออธโธมัน เมลลุกจากองค์กรที่ชื่อว่า International Treatment Preparedness Coalition เห็นว่าองค์กรภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS) และความสำคัญของความยืดหยุ่นเหล่านั้น

เขากล่าวกับ Intellectual Property Watch ว่าทุกครั้งที่มีการใช้ความยืดหยุ่นใน TRIPS ไม่ว่าจะเป็นมาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory licences) หรือการคัดค้านคำขอสิทธิบัตร องค์กรภาคประชาสังคมจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันรัฐบาล สร้างแรงกดดัน และถ่วงดุลกับแรงกดดันจากสหภาพยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา

เขากล่าวว่าเมื่อเริ่มแรก บริษัทผลิตยาสามัญชั้นนำเป็นฝ่ายยื่นคัดค้านคำขอสิทธิบัตร แต่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่องค์กรภาคประชาสังคมจะเป็นผู้ยื่น ซึ่งมีเป้าหมายมิให้มีการใช้สิทธิบัตรไปในทางที่ผิด และเพื่อใช้สิทธิภายใต้ความยืดหยุ่นใน TRIPS และเน้นว่าปัจจัยสำคัญที่สุดคืออะไรคือสิ่งที่ควรได้รับสิทธิบัตร เพื่อป้องกันมิให้สิ่งที่มิควรได้สิทธิบัตรได้รับสิทธิบัตรไป จะได้ไม่ต้องยุ่งยากกับการที่จะต้องมายื่นคัดค้าน

ประเด็นหนึ่งที่พบในเรื่องของการเข้าถึงยาคือการทำงานแบบแยกส่วน เช่นมุ่งที่ยาตัวหนึ่งๆและโรคๆหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่ง ใครๆก็พูดถึง “super drugs”  เมลลุกกล่าวว่า “เราได้ถูกต้อนเข้าสู่ระบบ” ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทผลิตยาทั้งหลาย ซึ่งอันที่จริงควรมองปัญหาราคายาทั้งหมดอย่างเป็นระบบ

ช่วงเวลาสำคัญหนึ่งคือเมื่อบริษัท Gilead ปล่อยยา sofosbuvir ออกมา “มันมีเวลาก่อนและหลัง sofosbuvir” ที่แสดงให้เห็นว่าเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญามิใช่เป็นเรื่องของประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น

เมลลุกกล่าวว่าเรื่องที่น่าห่วงมากในขณะนี้คือระบบการให้การรับรองสิทธิบัตรของยุโรปในโมร็อกโกภายใต้ความตกลงการให้การรับรอง (validation agreement) ระหว่างองค์การสิทธิบัตรยุโรปกับโมร็อกโกซึ่งมีผลบังคับเมื่อวันที่ 1  มีนาคม 2015 ซึ่งทำให้บริษัทข้ามชาติยื่นขอสิทธิบัตรในโมร็อกโกได้ง่ายขึ้นและก็มีการให้สิทธิบัตรเภสัชภัณฑ์มากขึ้นด้วย

ยูเครนได้ร่วมในความยินยอมของ Gilead และแก้กฎหมายสิทธิบัตรของตน

เซอร์เกย์ คอนแดรทยุคจากองค์กรเครือข่ายออล์ยูเครนสำหรับคนที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์เน้นถึงความสำคัญในการคัดค้านคำขอสิทธิบัตรภายใต้ความยืดหยุ่นใน TRIPS  เขากล่าวกับ Intellectual Property Watch ว่าเครือข่ายของเขานี้เป็นหัวหอกในการยื่นคัดค้านคำขอสิทธิบัตรในยูเครน

การรณรงค์ขององค์กรเครือข่ายนี้ทำให้ Gilead ยินยอมรวมยูเครนเข้าในความตกลงให้ยูเครนสามารถผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายยา sofosbuvir ได้ (voluntary licence agreement) เมื่อเดือนสิงหาคม 2017 ซึ่งจะทำให้ราคายาตัวนี้ถูกลง  (เช่นเดียวกับมาเลเซีย ไทยและเบลารูซ) ยา sofosbuvir เป็นยาที่ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี

คอนแดรทยุคกล่าวว่าการผลักดันโดยองค์กรเครือข่ายของเขาเพื่อให้การให้สิทธิบัตรมีความเข้มงวดมากขึ้นทำให้รัฐบาลยูเครนปฎิรูปกฎหมายสิทธิบัตรของตน

เครดิตรูปภาพ ออธโธมัน เมลลุก จาก ITPC Global

 

Image Credits: Othoman Mellouk – ITPC Global

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

Related

Intellectual Property Watch may be reached at info@ip-watch.org.

Creative Commons License"ภาคประชาสังคมสำคัญต่อการดำเนินการตามความยืดหยุ่นใน TRIPS" by Intellectual Property Watch is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

Filed Under: Language, Other Tagged With: #nofeat, #nofeed

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  • Email
  • Facebook
  • LinkedIn
  • RSS
  • Twitter
  • Vimeo
My Tweets

IPW News Briefs

Saudis Seek Alternative Energy Partners Through WIPO Green Program

Chinese IP Officials Complete Study Of UK, European IP Law

Perspectives on the US

In US, No Remedies For Growing IP Infringements

US IP Law – Big Developments On The Horizon In 2019

More perspectives on the US...

Supported Series: Civil Society And TRIPS Flexibilities

Civil Society And TRIPS Flexibilities Series – Translations Now Available

The Myth Of IP Incentives For All Nations – Q&A With Carlos Correa

Read the TRIPS flexibilities series...

Paid Content

Interview With Peter Vanderheyden, CEO Of Article One Partners

More paid content...

IP Delegates in Geneva

  • IP Delegates in Geneva
  • Guide to Geneva-based Public Health and IP Organisations

All Story Categories

Other Languages

  • Français
  • Español
  • 中文
  • اللغة العربية

Archives

  • Archives
  • Monthly Reporter

Staff Access

  • Writers

Sign up for free news alerts

This site uses cookies to help give you the best experience on our website. Cookies enable us to collect information that helps us personalise your experience and improve the functionality and performance of our site. By continuing to read our website, we assume you agree to this, otherwise you can adjust your browser settings. Please read our cookie and Privacy Policy. Our Cookies and Privacy Policy

Copyright © 2022 · Global Policy Reporting

loading Cancel
Post was not sent - check your email addresses!
Email check failed, please try again
Sorry, your blog cannot share posts by email.