• Home
  • About Us
    • About Us
    • Subscribe
    • Privacy Policy
  • Advertise
    • Advertise On IP Watch
    • Editorial Calendar
  • Videos
  • Links
  • Help

Intellectual Property Watch

Original news and analysis on international IP policy

  • Copyright
  • Patents
  • Trademarks
  • Opinions
  • People News
  • Venues
    • Bilateral/Regional Negotiations
    • ITU/ICANN
    • United Nations – other
    • WHO
    • WIPO
    • WTO/TRIPS
    • Africa
    • Asia/Pacific
    • Europe
    • Latin America/Caribbean
    • North America
  • Themes
    • Access to Knowledge/ Open Innovation & Science
    • Food Security/ Agriculture/ Genetic Resources
    • Finance
    • Health & IP
    • Human Rights
    • Internet Governance/ Digital Economy/ Cyberspace
    • Lobbying
    • Technical Cooperation/ Technology Transfer
  • Health Policy Watch

ความพยายามร่วมกันของภาคประชาสังคมทำให้สามารถขวางการให้สิทธิบัตรยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี

09/08/2018 by Intellectual Property Watch, Intellectual Property Watch Leave a Comment

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

[View the original English version here.]

10 พ.ค. 2561 โดย แคทเธอรีน แซส Intellectual Property Watch

มีคนจำนวนมากเชื่อว่ายารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี (ยา sofosbuvir) ของกีเลียดซึ่งเป็นการปฏิวัติการรักษาโรคนี้ครั้งใหญ่เป็นจุดเริ่มต้นของการมียาราคาแพง ทำให้ประเทศที่มีรายได้สูงต้องเผชิญกับภาระด้านสาธารณสุขที่แบบรับไม่ไหว  ส่วนในประเทศที่มีรายได้ปานกลางหรือรายได้ต่ำ องค์กรภาคประชาสังคมได้รวมตัวกันเพื่อทำให้คนหลายล้านคนสามารถเข้าถึงยา sofosbuvir ที่จำเป็นสำหรับพวกเขา

การยื่นคัดค้านสิทธิบัตรยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี sofosbuvir ครั้งแรกในอินเดียในปี 2013

จากข้อความในโพสต์ขององค์กรที่ชื่อว่า International Treatment Preparedness Coalition (ITPC) นั้น ในปี 2015 ในโมร็อกโค มีคนประมาณ 625,000 คนที่ป่วยด้วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง และในจำนวนนี้มีจำนวนมากที่ภาวะของตับได้เข้าสู่โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับ

วิธีการรักษาแบบใหม่ของกีเลียดซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า Sovaldi ได้รับอนุมัติเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนธันวาคม 2013 ด้วยสนนราคา 84,000 เหรียญสหรัฐสำหรับการรักษาใน 12 สัปดาห์

ในปี 2014 กีเลียดประกาศว่าจะทำความตกลงอนุญาตให้บริษัทยาสามัญผลิตยาตัวนี้เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนา 91 ประเทศสามารถเข้าถึงการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี โดยได้ทำความตกลงกับผู้ผลิตยาสามัญเจ็ดรายที่ตั้งอยู่ในอินเดีย  อย่างไรก็ตาม ความตกลงนี้ไม่ครอบคลุมประเทศที่มีรายได้ปานกลางบางประเทศซึ่งก็มีผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังจำนวนมากอย่างเช่นอียิปต์และโมร็อกโค

โมร็อกโคเริ่มการผลิต sofosbuvir ภายในประเทศโดยไม่ได้รับความยินยอมจากกีเลียดนับแต่นั้น ดังข้อความในโพสต์ของ ITPC ที่ว่าบริษัทยาข้ามชาติแห่งนี้ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิบัตรของตนในระดับโมเลกุลในโมร็อกโค  (“blocking” patent on the molecule)

ดังคำกล่าวของออทโธมัน เมลลุคจาก ITPC อุตสาหกรรมผลิตยาสามัญในอินเดียได้ทำให้ประเทศอื่นๆหันมาสนใจการผลิตยาสามัญในหลายปีที่ผ่านมา และได้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่มาก โดยสามารถเจรจากับผู้ทรงสิทธิบัตรยาเพื่อให้ได้ใช้สิทธิโดยสมัครใจ (voluntary licenses) เมลลุคกล่าวว่าเป็นที่น่าสนใจว่าได้เกิดผู้ผลิตยาสามัญรายใหม่ๆในอิหร่าน โมร็อกโค และอียิปต์  และแสดงความกังวลว่ากีเลียดได้พยายามกล่าวอ้างถึงคุณภาพของยาที่ผลิตโดยผู้ผลิตยาสามัญรายใหม่ๆเหล่านี้

ด้วยแรงผลักดันจากองค์กรภาคประชาสังคมทำให้กีเลียดต้องยอมให้บริษัทยาสามัญใช้สิทธิแทนตนในการผลิตยา sofosbuvir มากขึ้น โดยได้ทำความตกลงให้ใช้สิทธิโดยสมัครใจกับผู้ผลิตยาสามัญในยูเครน มาเลเซีย ประเทศไทย และเบลารุสในปี 2017 ทั้งนี้ตามคำกล่าวของแหล่งข่าวในองค์กรภาคประชาสังคม

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกันยายน 2017 รัฐบาลมาเลเซียประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory licences) กับยา sofosbuvir นี้  ตามข้อความในโพสต์ของ hep Coalition มีคนประมาณ 500,000 คนที่ป่วยด้วยโรคไวรัสตับอักเสบซีในมาเลเซีย และมาเลเซียเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้มาตรการดังกล่าวกับยา sofosbuvir นี้

ตามข้อความในโพสต์ของ Make Medicines Affordable ได้ชี้ให้เห็นถึงความพยายามในการรณรงค์ขององค์กรที่ชื่อว่า Positive Malaysian Treatment Access & Advocacy Group เพื่อผลักดันให้มีการประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ และได้เสริมว่าในปี 2003 มาเลเซียก็เป็นประเทศแรกที่ประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิกับยาเอชไอวีตัวหนึ่ง

ประเทศต่างๆได้ปฏิเสธการให้สิทธิบัตรแก่ยา sofosbuvir เช่นประเทศจีน อาร์เจนตินา และยูเครน ดังนั้น “พวกเราจึงอยู่ในฐานะที่ดีมากจริงๆ” ทั้งนี้ตามคำกล่าวของปริติ กริชเทล ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหารร่วมของ Initiative for Medicines, Access & Knowledge (I-MAK) ต่อ Intellectual Property Watch และเสริมว่าบริษัทผู้ทรงสิทธิบัตรยาได้ยอมเข้าสู่โต๊ะเจรจาในประเทศต่างๆ เช่น จีนและบราซิล และราคายาก็ได้ถูกลง

เซอร์เกย์ คอนแดรทยุคจากเครือข่ายออล์ยูเครนสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์ได้กล่าวกับ Intellectual Property Watch ว่าแม้จะมีการปฏิเสธการให้สิทธิบัตรแก่ sofosbuvir และมีการใช้สิทธิโดยสมัครใจ (voluntary licenses) แต่กีเลียดก็ยังคงจะยื่นขอสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ sofosbuvir ในยูเครน

ตามคำกล่าวของกริชเทล บริษัทผลิตยาข้ามชาติใช้กลยุทธ์แตกต่างกันไปในการยื่นขอสิทธิบัตรยาในประเทศต่างๆ และประเด็นหนึ่งที่ I-MAK ต้องต่อสู้อย่างหนักคือการขอสิทธิบัตรต่อกันหรือสิทธิบัตรรอง หรือที่เรียกกันว่าสิทธิบัตรแบบไม่มีวันสิ้นสุดอายุ (evergreening)  ทั้งนี้แม้ยาตัวหนึ่งจะถูกปฏิเสธสิทธิบัตรไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังมีสิทธิบัตรอื่นๆของยาตัวเดียวกันนี้ที่ต้องติดตามคัดค้าน เธอกล่าวว่าการเคลื่อนไหวขององค์กรภาคประชาสังคมมิได้เพื่อคัดค้านสิทธิบัตรเพียงตัวใดตัวหนึ่ง แต่คัดค้านสิทธิบัตรหลากหลายตัวในแต่ละประเทศ  กลยุทธ์อื่นๆในการขอสิทธิบัตรก็ดังเช่นการแยกขอสิทธิบัตรเป็นส่วนๆ (divisional patenting )และการขอสิทธิบัตรต่อเนื่อง (continuation patenting)

การขอสิทธิบัตรแบบแยกส่วนหรือต่อเนื่องทำให้คำขอสิทธิบัตรดำรงอยู่ต่อได้

ทาเฮีย อามินผู้อำนวยการบริหารร่วมของ I-MAK อธิบายว่าการขอสิทธิบัตรต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกาหมายถึงกรณีที่หากคำขอสิทธิบัตรหนึ่งถูกปฏิเสธโดยสำนักงานผู้ออกสิทธิบัตร ผู้ขอนั้นก็สามารถยื่นขอใหม่ได้อีก  โดยผู้ขอสามารถยึดวันยื่นคำขอครั้งแรก แต่ในการยื่นครั้งที่สองนั้นสามารถขอการคุ้มครองที่ต่างไปจากการยื่นครั้งแรก  และกล่าวว่าบริษัทผลิตยาข้ามชาติใช้กลยุทธ์นี้เพื่อให้คำขอสิทธิบัตรของตนยังอยู่ในระบบ เพื่อที่จะได้สามารถปรับเปลี่ยนการประดิษฐ์ของตนตามสภาวการณ์ และปรับแก้คำขอสิทธิบัตรของตน

นอกจากคัดค้านคำขอสิทธิบัตร การติดตามผู้ให้สิทธิบัตร และขั้นต่อไป

กริชเทลกล่าวว่าในห้าปีที่ผ่านมา “เราได้ใช้กลยุทธ์และกลเม็ดต่างๆ” กับ sofosbuvir  นอกจากการคัดค้านคำขอสิทธิบัตรแล้ว องค์กรภาคประชาสังคมยังได้ติดตามการทำงานของสำนักงานผู้ออกสิทธิบัตรในเรื่องการติดตาม ความโปร่งใสและความรับผิด โดยได้ประสานอย่างใกล้ชิดด้วยการประชุมและเจรจาทางยุทธศาสตร์กับสำนักงานเหล่านี้

เธอกล่าวว่า “เราได้เจรจาอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงสาธารณสุขของประเทศต่างๆเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาตระหนักถึงกลเม็ดต่างๆเหล่านั้นในการขอสิทธิบัตร และพวกเขาจับตามองเมื่อยามีราคาแพงขึ้น”  การต่อสู้ทางกฎหมายและการรณรงค์ต่างๆเกี่ยวกับยา sofosbuvir ได้เกิดขึ้นในกว่า 50 ประเทศ

กริชเทลกล่าวว่าสำหรับขั้นต่อไปในการรณรงค์นั้น “สิ่งที่พวกเราไม่ต้องการคือการพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่” ซึ่งจะนำไปสู่สถานการณ์ที่ว่าทุกครั้งที่มีปัญหาเกี่ยวกับการไม่สามารถเข้าถึงการรักษา ก็มีองค์กรภาคประชาสังคมเป็นที่พึ่งในการแก้ปัญหา

คณะกรรมการพิจารณาและอุทธรณ์สิทธิบัตรของสหรัฐไม่รับทบทวนสิทธิบัตรของกีเลียด

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2017 I-MAK ได้ยื่นคัดค้านสิทธิบัตรของ sofosbuvir เป็นครั้งแรกต่อคณะกรรมการพิจารณาและอุทธรณ์สิทธิบัตร (Patent Trial and Appeal Board) ของสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกา โดย I-MAK ได้ยื่นคัดค้านคำขอสิทธิบัตรหกสิทธิบัตรด้วยเหตุที่ว่าสิทธิบัตรของ sofosbuvir ไม่เข้าเกณฑ์ที่ควรได้รับสิทธิบัตร เช่นในประเด็นที่ว่าต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่หรือไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว

ตามข้อความในข่าวแถลงของ I-MAK เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2018 คณะกรรมการดังกล่าวไม่รับที่จะทบทวนคำขอสิทธิบัตรหนึ่งสิทธิบัตรของ sofosbuvir  ของกีเลียด โดยอ้างว่า “เวลาที่กีเลียดยื่นคำขอครั้งแรกนั้นมีขึ้นก่อนที่ I-MAK จะยื่นหลักฐานบางอย่าง”

เครดิตรูปภาพ   DNP+

 

Image Credits: DNP+

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

Related

Intellectual Property Watch may be reached at info@ip-watch.org.

Creative Commons License"ความพยายามร่วมกันของภาคประชาสังคมทำให้สามารถขวางการให้สิทธิบัตรยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี" by Intellectual Property Watch is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

Filed Under: Language, Other Tagged With: #nofeat, #nofeed

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  • Email
  • Facebook
  • LinkedIn
  • RSS
  • Twitter
  • Vimeo
My Tweets

IPW News Briefs

Saudis Seek Alternative Energy Partners Through WIPO Green Program

Chinese IP Officials Complete Study Of UK, European IP Law

Perspectives on the US

In US, No Remedies For Growing IP Infringements

US IP Law – Big Developments On The Horizon In 2019

More perspectives on the US...

Supported Series: Civil Society And TRIPS Flexibilities

Civil Society And TRIPS Flexibilities Series – Translations Now Available

The Myth Of IP Incentives For All Nations – Q&A With Carlos Correa

Read the TRIPS flexibilities series...

Paid Content

Interview With Peter Vanderheyden, CEO Of Article One Partners

More paid content...

IP Delegates in Geneva

  • IP Delegates in Geneva
  • Guide to Geneva-based Public Health and IP Organisations

All Story Categories

Other Languages

  • Français
  • Español
  • 中文
  • اللغة العربية

Archives

  • Archives
  • Monthly Reporter

Staff Access

  • Writers

Sign up for free news alerts

This site uses cookies to help give you the best experience on our website. Cookies enable us to collect information that helps us personalise your experience and improve the functionality and performance of our site. By continuing to read our website, we assume you agree to this, otherwise you can adjust your browser settings. Please read our cookie and Privacy Policy. Our Cookies and Privacy Policy

Copyright © 2022 · Global Policy Reporting

loading Cancel
Post was not sent - check your email addresses!
Email check failed, please try again
Sorry, your blog cannot share posts by email.