• Home
  • About Us
    • About Us
    • Subscribe
    • Privacy Policy
  • Advertise
    • Advertise On IP Watch
    • Editorial Calendar
  • Videos
  • Links
  • Help

Intellectual Property Watch

Original news and analysis on international IP policy

  • Copyright
  • Patents
  • Trademarks
  • Opinions
  • People News
  • Venues
    • Bilateral/Regional Negotiations
    • ITU/ICANN
    • United Nations – other
    • WHO
    • WIPO
    • WTO/TRIPS
    • Africa
    • Asia/Pacific
    • Europe
    • Latin America/Caribbean
    • North America
  • Themes
    • Access to Knowledge/ Open Innovation & Science
    • Food Security/ Agriculture/ Genetic Resources
    • Finance
    • Health & IP
    • Human Rights
    • Internet Governance/ Digital Economy/ Cyberspace
    • Lobbying
    • Technical Cooperation/ Technology Transfer
  • Health Policy Watch

กรณีของทรูวาดาชี้ถึงความสำเร็จของภาคประชาสังคมในการคัดค้านการให้สิทธิบัตร

09/08/2018 by Intellectual Property Watch, Intellectual Property Watch Leave a Comment

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

[View the original English version here.]

8 พ.ค. 2561 โดย แคทเธอรีน แซส Intellectual Property Watch

กรณีตัวอย่างของยาต้านไวรัสทรูวาดา (Truvada) ของบริษัทกีเลียด (Gilead) ในอาร์เจนตินาและบราซิลแสดงให้เห็นถึงความพยายามของภาคประชาสังคมในการคัดค้านการให้สิทธิบัตรที่เห็นว่าไม่สมเหตุผลที่ได้ผลสำเร็จนำไปสู่การถอนและปฏิเสธการให้สิทธิบัตร แม้ว่าสถานการณ์ในบราซิลจะยังไม่นิ่งเสียทีเดียว

องค์กรร่วมภาคประชาสังคม (La Red Latinoamericana por el Acceso a Medicamentos หรือ RedLAM) ประท้วงข้างนอก WTO Ministerial ในกรุงบัวโนสไอเรส

การคัดค้านการให้สิทธิบัตรเป็นมาตรการหนึ่งของความยืดหยุ่น (flexibilities) ภายใต้ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) ขององค์การการค้าโลก  และเป็นวิธีการที่ภาคประชาสังคมใช้อย่างกว้างขวางในการคัดค้านสิทธิบัตรที่เห็นว่าไม่สมเหตุผลหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย  แหล่งข่าวรายหลายกล่าวตรงกันว่าการวิเคราะห์คำขอสิทธิบัตรโดยองค์กรภาคประชาสังคมเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับหน่วยงานผู้ออกสิทธิบัตร

ทรูวาดาเป็นยาต้านไวรัสของบริษัทกีเลียดซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมของ emtricitabine และ tenofovir disoproxil fumarate (TDF)  กีเลียดได้เผชิญกับการคัดค้านจากองค์กรภาคประชาสังคมในบางประเทศ

เมื่อพยายามจะขอสิทธิบัตรของการผสมตัวยาดังกล่าว  ในอาร์เจนตินาและบราซิล องค์กรเหล่านี้ได้ยื่นคัดค้านการให้สิทธิบัตรในกรณีนี้  สำหรับในอาร์เจนตินา กีเลียดได้ถอนคำขอสิทธิบัตรของตน  ส่วนในบราซิลนั้น แหล่งข่าวกล่าวว่าบริษัทผลิตยาระดับโลกแห่งนี้อาจขอสู้คดีในศาล

ได้มีการขอความเห็นจากกีเลียดเพื่อการเขียนบทความนี้ แต่โฆษกของบริษัทกล่าวว่ากีเลียดจะไม่ให้ความเห็นเกี่ยวกับคำขอสิทธิบัตรที่อยู่ในระหว่างรออนุมัติ

ทรูวาดายังเป็นยาป้องกันที่มีประสิทธิภาพสำหรับคนที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวีแต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง  ยาตัวนี้เป็นยาแนะนำขององค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ แต่แม้กระนั้น นอกจากประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ก็ยังเจอแรงต่อต้านทั้งในอาร์เจนตินาและบราซิลด้วยเหตุที่ว่ายาตัวนี้อาจส่งเสริมให้คนมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน

ในอาร์เจนตินา ภาคประชาสังคมยินดีกับชัยชนะ

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2016 สถาบันทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมแห่งชาติของอาร์เจนตินาได้ขอให้กีเลียดถอนคำขอสิทธิบัตรสำหรับทรูวาดา ทั้งนี้ตามข้อมูลของ Fundación Grupo Efecto Positivo (FGEP)

FGEP ได้เข้าร่วมในการรณรงค์ครั้งนี้โดยยื่นคัดค้านคำขอสิทธิบัตรนี้เมื่อเดือนเมษายน 2015

ลอเรนา ดิ เกียโนผู้อำนวยการบริหารของ FGEP ชี้ถึงบทความสำคัญขององค์กรภาคประชาสังคมในการตรวจสอบคำขอสิทธิบัตร  ในกรณีของทรูวาดานี้ เมื่อขณะที่ FGEP ยื่นคัดค้านดังกล่าว ประชาชนจำนวนในอาร์เจนตินาได้รับยาทรูวาดาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาเอชไอวี  ค่าใช้จ่ายสำหรับยานี้เป็นภาระใหญ่พอควรสำหรับกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นงบประมาณ 2,700 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี หรือเท่ากับ 12 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

FGEP พบว่าทรูวาดาไม่เข้าเกณฑ์ที่จะเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่เนื่องจากเป็นเพียงการผสมยาเข้าด้วยกัน ซึ่งยานั้นกีเลียดก็ได้รับสิทธิบัตรไปแล้ว และกรณีเช่นนี้ก็ไม่สามารถรับสิทธิบัตรได้ตามกฎหมายของอาร์เจนตินา

ตามที่อธิบายในการโพสต์ข้อความของ FGEP (ซึ่งเป็นภาษาสเปน) หลักฐานที่ยื่นในการคัดค้านโดย FGEP นั้นหน่วยงานที่ออกสิทธิบัตรของอาร์เจนตินาได้นำไปใช้ และได้อ้างอิงถึงในการให้เหตุผลเพื่อปฏิเสธคำขอสิทธิบัตรของกีเลียดสำหรับทรูวาดานี้  หน่วยงานนี้ยังกล่าวว่าวิธีการรักษาโรคไม่ถือเป็นการประดิษฐ์ที่จะได้รับสิทธิบัตรในอาร์เจนตินา

หน่วยงานนี้ขอให้กีเลียดยื่นคำโต้แย้งการคัดค้านคำขอสิทธิบัตรของตนดังกล่าว แต่ต่อมากีเลียดได้ขอถอนคำขอสิทธิบัตรของตน

ดิ เกียโนกล่าวว่าอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในกรณีของทรูวาดานี้คือ บริษัทผลิตยาสามัญก็ได้ยื่นคัดค้านคำขอสิทธิบัตรด้วยในขณะที่พร้อมจะส่งยาสามัญของตนเข้าสู่ตลาด

ในบราซิล ทรูวาดาก็พบอุปสรรค

จากข้อความในโพสต์ของ Make Medicines Affordable (MMA) เมื่อเดือนมกราคม 2017 สถาบันทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมแห่งชาติของบราซิล (INPI) ประกาศว่าได้ปฏิเสธคำขอสิทธิบัตรของกีเลียด ไซแอนซ์ (Gilead Sciences) ตั้งแต่มกราคม 2004 ซึ่งครอบคลุมถึงการผสมยาระหว่าง emtricitabine และ tenofovir disoproxil fumarate (TDF)

แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับ INPI ยืนยันว่า INPI ได้ปฏิเสธคำขอสิทธิบัตรของกีเลียด และกีเลียดได้อุทธรณ์  ในการวินิจฉัยเบื้องต้น คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์พบว่าอุทธรณ์นั้นไม่มีมูล  กีเลียดได้ยื่นคำให้การอีกซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา  กระบวนการทางด้านปกครองนั้นยังไม่สิ้นสุด แต่คาดว่าหาก INPI ยืนยันการปฏิเสธ กีเลียดก็จะยื่นฟ้องศาล ทั้งนี้ตามคำกล่าวของแหล่งข่าวดังกล่าว

MMA กล่าวว่าการปฏิเสธคำขอสิทธิบัตรของกีเลียดหมายความว่ายาทรูวาดาสามารถขายในบราซิลได้ในราคาถูก  คณะทำงานทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งสมาคมเอดส์สหวิชาของบราซิล (Brazilian Interdisciplinary AIDS Association หรือ ABIA) ทำหน้าที่ประสานงานให้ได้ยื่นคัดค้านคำขอสิทธิบัตรเช่นกันโดยเสนอคำคัดค้านด้านวิชาการ กฎหมายและสาธารณสุข

เปโดร วิลลาร์ดี แห่ง ABIA กล่าวว่า ABIA ได้ต่อสู้กับกีเลียดในเรื่องสิทธิบัตรมาตั้งแต่ปี 2008  ในกรณีของทรูวาดานี้ tenofovir เป็นยาเก่ามาก ส่วน emtricitabine ก็ไม่เคยได้รับสิทธิบัตรในบราซิล  เขากล่าวกับ Intellectual Property Watch ว่าการที่ทรูวาดาเป็นยาที่หาได้ทั่วไปทำให้รัฐบาลบราซิลมีทางเลือกว่าจะเลือกซื้อจากที่ใด

ประเด็นนอกเหนือทรัพย์สินทางปัญญา

นอกจากใช้รักษาผู้ป่วยเอชไอวีแล้ว ทรูวาดายังสามารถใช้เป็นยาป้องกันได้ด้วย  ตามข้อมูลของกีเลียด ทรูวาดาเป็นยาต้านไวรัสชนิดแรกที่ได้รับอนุมัติในสหรัฐอเมริกาให้ใช้ควบคู่กับวิธีการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV-1 อันเป็นวิธีการที่เรียกว่าการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัส (pre-exposure prophylaxis หรือ PrEP)  อย่างไรก็ตาม การใช้ทรูวาดาเพื่อการนี้ก็ยังมีการคิดที่ต่างกันไปทั้งในบราซิลและอาร์เจนตินา และภาคประชาสังคมก็กำลังทำงานร่วมกับรัฐบาลในสองประเทศนี้ในประเด็นนี้

เครดิตรูปภาพ  José Luis Schanzenbach

 

Image Credits: José Luis Schanzenbach

Share this:

  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to email this to a friend (Opens in new window)
  • Click to print (Opens in new window)

Related

Intellectual Property Watch may be reached at info@ip-watch.org.

Creative Commons License"กรณีของทรูวาดาชี้ถึงความสำเร็จของภาคประชาสังคมในการคัดค้านการให้สิทธิบัตร" by Intellectual Property Watch is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

Filed Under: Language, Other Tagged With: #nofeat, #nofeed

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

  • Email
  • Facebook
  • LinkedIn
  • RSS
  • Twitter
  • Vimeo
My Tweets

IPW News Briefs

Saudis Seek Alternative Energy Partners Through WIPO Green Program

Chinese IP Officials Complete Study Of UK, European IP Law

Perspectives on the US

In US, No Remedies For Growing IP Infringements

US IP Law – Big Developments On The Horizon In 2019

More perspectives on the US...

Supported Series: Civil Society And TRIPS Flexibilities

Civil Society And TRIPS Flexibilities Series – Translations Now Available

The Myth Of IP Incentives For All Nations – Q&A With Carlos Correa

Read the TRIPS flexibilities series...

Paid Content

Interview With Peter Vanderheyden, CEO Of Article One Partners

More paid content...

IP Delegates in Geneva

  • IP Delegates in Geneva
  • Guide to Geneva-based Public Health and IP Organisations

All Story Categories

Other Languages

  • Français
  • Español
  • 中文
  • اللغة العربية

Archives

  • Archives
  • Monthly Reporter

Staff Access

  • Writers

Sign up for free news alerts

This site uses cookies to help give you the best experience on our website. Cookies enable us to collect information that helps us personalise your experience and improve the functionality and performance of our site. By continuing to read our website, we assume you agree to this, otherwise you can adjust your browser settings. Please read our cookie and Privacy Policy. Our Cookies and Privacy Policy

Copyright © 2022 · Global Policy Reporting

loading Cancel
Post was not sent - check your email addresses!
Email check failed, please try again
Sorry, your blog cannot share posts by email.